top of page

ผศ.ดร.สันติ อุดมศรี

อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรี
Lecturer in the Music Department
音乐系讲师

-

ผศ.ดร.สันติ อุดมศรี จบการศึกษาระดับปริญญาโท คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มทำงานด้านการสอนดนตรีไทยในปีพุทธศักราช 2549 -2552 ที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

จากนั้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 -2562 ได้มาทำการสอนที่คณะศิลปกรรมศาสตร์และคณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา มีผลงานการบรรเลงดนตรีไทยถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี และเป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดดนตรีไทยตามภูมิภาคต่างๆรวมทั้งเป็นผู้ควบคุมวงดนตรีไทยไปบรรเลงในต่างประเทศ

ขอบเขตงานวิชาการที่เชี่ยวชาญและสนใจ

1. การศึกษาวิจัยดนตรีเชิงคุณภาพ
2. การผลิตหนังสือดนตรีด้านประวัติศาสตร์บุคคลและผลงานต่างๆ
3. สนใจการบรรเลงดนตรีไทย

ผลงานทางวิชาการ ย้อนหลัง 5 ปี (พ.ศ. 2563 - 2567) ข้อมูลจากระบบ E-Research Buu

งานวิจัย
สันติ อุดมศรี, และ จรัญ กาญจนประดิษฐ์. (2566). เพลงย่ำค่ำสู่เพลงยิ้มแป้น : การปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมปี่พาทย์มอญ. วารสารศิลปกรรมบูรพา, 26(2), 133-151.

สันติ อุดมศรี . (2565). การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการด้านนาฏศิลป์และดนตรีไทยในเมืองพัทยา. วารสารศิลปกรรมบูรพา, 25(2), 35-48.

สันติ อุดมศรี. (2563). การศึกษาองค์ความรู้ศิลปินดนตรีไทยแห่งภาคตะวันออก : ครูสงบ ทองเทศ. วารสารวิชาการศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 2(2), 35-53.

บทความทางวิชาการ
สันติ อุดมศรี. (2567). เชิดฉานในวัฒนธรรมดนตรีไทย. วารสารแก่นดนตรี, 26(2), 112-123.

สันติ อุดมศรี , และจรัญ กาญจนประดิษฐ์. (2564). ฉิ่งมูล่ง: ปรากฎการณ์วิทยาทางดนตรีไทยและการเปลี่ยนผ่านทางสภาวะความรู้สึกของนักระนาดเอก. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 8(2), 168-185.

สันติ อุดมศรี. (2563). สำนวนกลอนเดี่ยวระนาดเอกเพลงพญาโศก สามชั้น : ครูสงบ ทองเทศ หนึ่งในตำนานระนาดเอกแห่งภาคตะวันออก. วารสารวิชาการศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 3(2), 45-56.

bottom of page